สาขาวิชาการบัญชี
หลักสูตรที่เปิดสอน
(ภาษาไทย) หลักสูตรบัญชีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี
(ภาษาอังกฤษ) Bachelor of Accountancy Program in Accounting
สาระสำคัญของหลักสูตร
หลักสูตรบัญชีบัณฑิตเป็นหลักสูตรที่มีมาตรฐานวิชาการและวิชาชีพในระดับอุดมศึกษา มุ่งสร้างนักบัญชีที่มีความรู้ด้านบัญชี มีทักษะในวิชาชีพ มีจรรยาบรรณ สามารถนำความรู้ไปใช้ประกอบวิชาชีพบัญชี และยังสามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายอาชีพทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนนอกจากนี้ยังเป็นวิชาที่จะเปิดเสรีประชาคมอาเซียนจึงทำให้ได้รับความสนใจและสนับสนุนจากทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ส่งผลให้บัณฑิตได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของสถานประกอบการต่าง ๆ
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
1) ต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมตอนปลาย หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า หรือ
2) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาอื่น จากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)ให้ใบรับรอง
3) ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา/หรือเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับการคัดเลือกของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ เป็นผู้กำหนด
โครงสร้างของหลักสูตร หลักสูตร 4 ปี ไม่น้อยกว่า 139หน่วยกิต
จุดเด่นของหลักสูตร
1) เป็นหลักสูตรที่มีสภาวิชาชีพให้การรับรอง
2) เป็นหลักสูตรที่สามารถรองรับกับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน
3) เป็นหลักสูตรที่มีความทันสมัย และการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายทำให้ผลิตบัณฑิตตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ
4) มีอาชีพรองรับเมื่อสำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพได้
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1) เพื่อผลิตบัณฑิตด้านบัญชีที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ในระดับวิชาชีพและนำไปสู่การประกอบอาชีพได้
2) เพี่อผลิตบัณฑิตที่มีเจตคติที่ดี มีจรรยาบรรณและทักษะเพียงพอที่จะดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาตนเองให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม
3) เพื่อสร้างบัณฑิตที่สนองต่อความต้องการของตลาดแรงงาน สอดคล้องตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
4) เพื่อให้บัณฑิตสามารถเรียนรู้และมีประสบการณ์ไปเป็นแนวทางในการศึกษาในระดับสูงต่อไป
แนวทางประกอบอาชีพ
ผู้สำเร็จการศึกษา สามารถประกอบอาชีพได้ตามพระราชบัญญัติบัญชี พ.ศ. 2543 และพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2547 และวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในลักษณะการประกอบวิชาชีพอิสระและการเข้าทำงานในองค์กรหรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนดังต่อไปนี้
1) การทำบัญชี
2) การสอบบัญชี
3) บัญชีบริหาร
4) การภาษีอากร
5) การวางระบบบัญชี
6) การศึกษาและเทคโนโลยีทางการบัญชี
7) การตรวจสอบภายใน
8) การให้คำปรึกษาทางการเงินและการบัญชี
9) ด้านการประกอบวิชาชีพอิสระ
10) ด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
อาจารย์ประจำหลักสูตรบัญชีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)
ลำดับที่ | ชื่อ-สกุล |
1 | อาจารย์ดวงฤดี จำรัสธนสาร |
2 | อาจารย์พิมพ์จันทร์ อารยเมธาเลิศ |
3 | อาจารย์สิริวรรณ ชวลิตเมธา |
4 | อาจารย์อัจนา ปราชญากุล |
5 | นายกฤชชัย สุขเสวี |
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
สาขาวิชา | ภาคปกติ | ภาคพิเศษ | ||||
---|---|---|---|---|---|---|
ภาคเรียนละ | งวดที่ 1 | งวดที่ 2 | ภาคเรียนละ | งวดที่ 1 | งวดที่ 2 | |
สาขาวิชาการบัญชี | 8,500 | 4,500 | 4,000 | 9,500 | 5,000 | 4,500 |




