สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
ชื่อหลักสูตร
ชื่อหลักสูตร (ไทย) : หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนา
ชื่อหลักสูตร (อังกฤษ) : Bachelor of Arts Program in Tourism for Development
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ไทย) : ศิลปศาสตรบัณฑิต (การท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนา)
ชื่อย่อ (ไทย) : ศศ.บ. (การท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนา)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Arts (Tourism for Development)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.A. (Tourism for Development)
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
ไม่น้อยกว่า 127 หน่วยกิต
ปรัชญาของหลักสูตร
เป็นหลักสูตรที่เน้นการจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการ เพื่อผลิตบัณฑิตสาขาวิชาการท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนาที่พึงประสงค์ที่มีจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความรอบรู้ทางวิชาการและทักษะทางด้านวิชาชีพการท่องเที่ยว ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ เป็นนักพัฒนาการท่องเที่ยวเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนและตอบโจทย์การพัฒนาของประเทศ
สาระสำคัญของหลักสูตร
1. พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถด้านการท่องเที่ยว และสามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ในการพัฒนาการท่องเที่ยวได้
2. พัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะในการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรมเพื่อความเข้มแข็งและยั่งยืนของการท่องเที่ยว
3. พัฒนาผู้เรียนมีคุณลักษณะตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน ในด้านการท่องเที่ยวและการบริการ
4. ส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา หน่วยงานของรัฐและหน่วยงานภาคเอกชน ในด้านการจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการและงานวิจัย
วัตถุประสงค์หลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนา มีวัตถุประสงค์ในการผลิตบัณฑิตให้มีคุณสมบัติครอบคลุมทั้ง 5 ด้านดังนี้
1. มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะการปฏิบัติงานทางด้านการท่องเที่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ และริเริ่มสร้างสรรค์ โดยใช้ความรู้ และประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยวที่ทันสมัยเป็นฐานในการเป็นนักพัฒนาคุณภาพการท่องเที่ยวให้มีความยั่งยืน
3. มีทักษะ และมีความสามารถด้านการสื่อสาร การค้นคว้า การวิเคราะห์ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดการเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์
4. มีสมรรถนะในการทำงานการท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนาชุมชน สังคม อย่างมีคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ
5. มีความสามารถในการปฏิสัมพันธ์ สามารถทำงานร่วมกับบุคคลอื่นได้เป็นอย่างมีประสิทธิภาพ
แนวทางประกอบอาชีพ
1. มัคคุเทศก์/ผู้นำเที่ยว
2. นักพัฒนาการท่องเที่ยว
3. พนักงานประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว
4. พนักงานภาคธุรกิจบริการ
5. พนักงานหน่วยงานของภาครัฐ
6. ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
7. งานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและบริการ
อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนา (ฉบับปรับปรุง 2564)
ลำดับ | ชื่อ – สกุล | คุณวุฒิ | สถาบันการศึกษา |
---|---|---|---|
1 | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ครรชิต มาระโภชน์ | MITHM (International Tourism and Hotel Management) | Southern Cross University, Australia |
ศศ.ม. (การจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยวนานาชาติ) | มหาวิทยาลัยนเรศวร | ||
ศศ.บ. (อุตสาหกรรมท่องเที่ยว) | สถาบันราชภัฏฉะเชิงเทรา | ||
2 | อาจารย์รัชฎาพร วงษ์โสพนากุล | ศศ.ม. (การจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว) | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
ศศ.บ. (อุตสาหกรรมท่องเที่ยว) | วิทยาลัยครูสวนสุนันทา | ||
3 | อาจารย์ไตรภพ โคตรวงษา | ศศ.ม. (การจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว) | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
ศศ.บ. (อุตสาหกรรมท่องเที่ยว) | สถาบันราชภัฏฉะเชิงเทรา | ||
4 | อาจารย์ทักษินาฏ สมบูรณ์ | ศศ.ม. (การจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว) | มหาวิทยาลัยนเรศวร |
ศศ.บ. (อุตสาหกรรมท่องเที่ยว) | สถาบันราชภัฏฉะเชิงเทรา | ||
5 | อาจารย์ภานุวัฒน์ ธัมมิกนันท์ | M.B.A. (Tourism and Hospitality) | Edith Cowan University, Australia |
ศศ.บ. (อุตสาหกรรมท่องเที่ยว) | สถาบันราชภัฏฉะเชิงเทรา |
โครงสร้างหลักสูตร
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป เรียนไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
(1) กลุ่มวิชาคุณค่าแห่งชีวิตและวิถีสังคม 6 หน่วยกิต
(2) กลุ่มวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรม 6 หน่วยกิต
(3) กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร 12 หน่วยกิต
(4) กลุ่มวิชาศาสตร์แห่งการคิด 3 หน่วยกิต
(5) กลุ่มวิชาศาสตร์ของผู้ประกอบการ 3 หน่วยกิต
2) หมวดวิชาเฉพาะ 84 หน่วยกิต
(1) วิชาพื้นฐานวิชาชีพ 24 หน่วยกิต
(2) วิชาเฉพาะบังคับ 30 หน่วยกิต
(3) วิชาเฉพาะเลือก 30 หน่วยกิต
3) หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
4) หมวดวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพหรือสหกิจศึกษา 7 หน่วยกิต
คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
1. ต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ซึ่งกระทรวง
ศึกษาธิการรับรอง
2. เป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงและไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่สังคมรังเกียจ อันเป็นอุปสรรคต่อ
การศึกษาและไม่เป็นคนวิกลจริต
3. ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และ/หรือ เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
สาขาวิชา | ภาคปกติ | ภาคพิเศษ | ||||
---|---|---|---|---|---|---|
ภาคเรียนละ | งวดที่ 1 | งวดที่ 2 | ภาคเรียนละ | งวดที่ 1 | งวดที่ 2 | |
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม | 8,500 | 4,000 | 3,500 | 9,500 | 5,000 | 4,500 |


